1.องค์การสนธิสัญญาแอตเเลนติกเหนือหรือนาโต
( NATO - North Atlantic Treaty Organization )
เป็นองค์กรความร่วมมือทางการเมืองและการทหารของประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตย เกิดจากแนวคิดของ เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยนั้น มีพื้นฐานมาจากสนธิสัญญาดันเคิร์กเเละบรัสเซลล์ สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งฐานทัพ อยู่ที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม สมาชิกมี 26 ประเทศ ได้เเก่ สหรัฐฯ เเคนนาดา เเละประเทศต่างๆในทวีปยุโรป
จุดมุ่งหมาย เพื่อป้องกันตัวจากการรุกรานของสหภาพโซเวียตเเละสกัดกั้นการขยายตัวของลัทธอความมิวนิสต์เข้าสู่ยุโรปตะวันตก
2.องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ ( Warsaw Treaty Organization ) หรือกติกาสัญญาวอร์ซอ ( Warsaw Pact )
เป็นองค์การร่วมมือทางการทหารของค่ายคอมมิวนิสต์ สมาชิกมี 8 ประเทศ ได้แก่ สหภาพโซเวียต เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ เชสโกสโลวะเกีย ฮังการี โรมาเนีย บัลแกเรีย และอัลแบเนีย
3.องค์การการค้าโลก ( WTO-World Trade Organization )
เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่มีพัฒนาการมาจากการทำความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าหรือแกตต์ มีที่ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์
วัตถุประสงค์ ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศให้เป็นเสรี เเละเป็นเวทีเจรจาต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศ
4. องค์การประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก ( OPEC - Organization of Petroleum Exporting Countries )
กลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันเป็นสินค้าออก เป็นองค์การนานาชาติ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อความร่วมมือทางด้านนโยบายน้ำมัน เดิมโอเปคมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย
โอเปกใช้น้ำมันเป็นเครื่องต่อรองเพื่อผลประโยชน์ของตนทั้งทางเศรษฐกิจเเละการเมือง
5. สภาพยุโรป หรือ อียู ( European Union - EU )
เป็นองค์การระหว่างประเทศ ที่ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 27 ประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ภายใต้สนธิสัญญามาสทริชต์ แทนที่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม
สภาพยุโรปเกิดจากแผนการชูมอง สภาพยุโรปได้สร้างความเป็นหนึ่งเดียวให้ประชาชนชาวยุโรป โดยมอบสถานภาพความเป็นพลเมืองสหภาพยุโรปอัตโนมัติให้เเก่ผู้ถือสัญชาติของประเทศสมาชิก โดยพลเมืองของสหภาพยุโรปจะมีสิทธิพื้นฐานเท่าเทียมกันทางด้านการเมือง การทำงาน การพักอาศัย ยกเว้นกรณีรับราชการทหารเท่านั้น
6.สมาคมการค้าเสรีเเห่งยุโรป หรือ เอฟตา ( European Free Trade Association - EFTA )
เป็นกลุ่มการค้าของทวีปยุโรป ก่อตั้งเนื่องจากความไม่พอใจของ กลุ่มประเทศในองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป ที่มีต่อองค์การตลาดร่วมยุโรป( EEC )จึงแยกตัวออกมาตั้งกลุ่มการค้าใหม่ ปัจจุบันเอฟตามีประเทศสมาชิกรวม 6 ประเทศ คือ ออสเตรีย นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ (รวมลิกเตนสไตล์) ฟินแลนด์ และไอซ์แลนด์
วัตถุประสงค์ ปฏิรูประบบการค้าของสินค้าอุตสาหกรรมภายกลุ่มประเทศสมาชิก เเละ กำหนดนโยบายการค้าของประเทศสมาชิกและประเทศนอกกลุ่มสมาชิก
7. เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ หรือ นาฟตา ( North American Free Trade Area - NAFTA )
เป็นองค์กรทางเศรษฐกิจในทวีปอเมริกาเหนือ ในการที่จะร่วมมือกันแสวงหาตลาดส่งออกและลดต้นทุนการผลิตสินค้า เพื่อให้มีราคาถูกลง สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้หลังจากที่สหภาพยุโรป ได้แก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยการเปิดตลาดเสรีเป็นตลาดเดียว
8.เขตการค้าเสรี ( Free Trade Area - FTA ) หรือข้อตกลงเขตการค้าเสรี ( Free Trade Agreement - FTA )
การรวมกลุ่มเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่ม ที่ทำข้อตกลงลงให้เหลือน้อยที่สุด หรือเป็น 0% และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม การทำเขตการค้าเสรีในอดีตมุ่งในด้านการเปิดเสรีด้านสินค้า (Goods) โดยการลดภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นหลัก แต่เขตการค้าเสรีในระยะหลัง ๆ นั้น รวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (Service) และการลงทุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น